ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์ การปลูกกล้วยไม้ โดย สุภาพ  

กฎหมายเกี่ยวกับกล้วยไม้

    กล้วยไม้ไทยสกุลต่าง ๆ สามารถทำการซื้อขายกันได้โดยเสรีแต่การเก็บออกจากป่าจะต้องได้รับอนุญาต
จากกรมป่าไม้ ้ก่อนส่วนการซื้อขายระหว่างประเทศนั้น ตามอนุสัญญาไซเทสกำหนดให้กล้วยไม้สกุลต่าง ๆ
ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ บัญชีที่ 2  เรื่องนี้มีที่มาพอสรุป ได้ดังต่อไปนี้
     สมาชิกสหภาพระหว่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติได้พิจารณาเห็นว่าสัตว์ป่า
และพืชป่าเป็นสิ่งที่มีค่าไม่อาจหามาทดแทนได้หากสูญพันธุ์ไปจึงได้ร่วมกันร่างอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า  และพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์   (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora = CITES) ขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน ระหว่างประเทศ อนุสัญญาน ี้มีผลบังคับให้ใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมพ.ศ. 2518 รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2526 ทำให้เกิดความจำเป็นในการกำหนดมาตรการ และกฎหมายเพื่อบังคับใช้ให้เป็นไปตามข้อบังคับของอนุสัญญานี้ในส่วนของการควบคุมพืชป่านั้น กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
     ตามอนุสัญญาไซเทส ได้มีการกำหนดพืชอนุรักษ์เป็น 3 ระดับ โดยขึ้นบัญชีเป็น 3 บัญชี คือ

1. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 หมายถึงชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์และมีเหลืออยู่น้อยมากห้ามมิให้นำเข้า ส่งออก ยกเว้น กรณีพิเศษ การนำเข้า ส่งออกซึ่งชนิดพันธุ์ในบัญชีนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของ ชนิดพันธุ์นั้น ๆ เป็นสำคัญ ตัวอย่างชนิดพันธุ์ใน บัญชีที่ 1 ได้แก่   กล้วยไม้รองเท้านารีทุกชนิด (Paphiopedilum spp.)
ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea)  เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb.f.) เป็นต้น

รองเท้านารี

ฟ้ามุ่ย

เอื้องปากนกแก้ว

2. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 หมายถึงชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์มีการ อนุญาตให้นำเข้า ส่งออกได้ แต่ต้องมีการควบคุมที่เหมาะสม ตัวอย่างชนิดพันธุ์ ได้แก่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes spp.)
3. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 3 หมายถึงพันธุ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศสมาชิกอนุสัญญาไซเทส ประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความร่วมมือจากประเทศภาคีให้ช่วยดูแล การนำเข้า ส่งออก ซึ่งชนิดพันธุ์นั้น เช่น ต้นมะเมื่อย (Gnetum montanum)
สำหรับกล้วยไม้ทุกสกุลทุกชนิดจัดอยู่ในบัญชีที่ 2 ทั้งหมด ยกเว้นที่ขึ้นบัญชีที่ 1ไว้แล้ว     ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงและการจำหน่ายกล้วยไม้ไปต่างประเทศและการนำเข้าประเทศ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
     (1) การนำเข้า ส่งออก พืชอนุรักษ์และซาก จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
     (2)ให้มีการจดทะเบียน ถานที่ขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้าการขยายพันธุ์เทียมหมายถึงการขยาย พันธุ์ที่ต้องกระทำภายใต้การจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์ เพื่อการผลิตพันธุ์ และต้องคงปริมาณ พ่อ - แม่พันธุ์ไว้ด้วย
      (3) ผู้ที่ขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์ จะต้องขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นพืชอนุรักษ์ บัญชีที่ 1
หรือ 2 หรือ 3
      (4) สำหรับการขึ้นทะเบียน สถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 เจ้าหน้าที่วิชาการพืชอนุรักษ์จะไปตรวจ สอบสถานที่เพาะเลี้ยงว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนที่จะออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
      (5) หนังสือสำคัญ ในการขึ้นทะเบียนพืชบัญชีที่ 1 ฉบับละ 500 บาท มีอายุ 5 ปี สำหรับพืชในบัญชีที่ 2 และ3ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
      (6)การนำเข้าพืชอนุรักษ์จะต้องได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องมีหนังสืออนุญาตจากประเทศ ต้นทางกำกับมาด้วย
      (7)ห้ามมิให้ส่งออกพืชอนุรักษ์ในบัญชีที่1ที่ได้จากป่า กเว้นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยความเห็นชอบ ของเจ้าหน้าที่วิชาการพืชอนุรักษ์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
      (8)การส่งออกพืชอนุรักษ์ในบัญชีที่1ที่ได้จากการขยายพันธุ์เทียมผู้ส่งออกจะต้องแสดงหลักฐานของแหล่งที่มา วิธีการยายพันธุ์เทียม หรือหมายเลขใบสำคัญการขึ้นทะเบียนสถานที่ เพาะเลี้ยง พืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขออนุญาตส่งออก
      (9) การส่งออกพืชอนุรักษ์ ในบัญชีที่ 2 สามารถส่งออกได้ทั้งที่เป็นพืชป่าและได้จากการ ขยายพันธุ์เทียม

Free Web Hosting