ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์ การปลูกกล้วยไม้ โดย สุภาพ  
โรงเรือนกล้วยไม

โรงเรือนแบบมาตรฐาน
โรงเรือนขนาดเล็ก

โรงเรือนแบบมาตรฐาน

เริ่มที่วางแปลนการใช้งานของส่วนก่อน เป้าหมายการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ของเราเป็น แบบการยกต้นจำหน่าย การสร้างโรงเรือนเราควรจะแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 5 ส่วน โดยส่วนแรก 20% ควรเป็น พื้นที่เลี้ยงไม้นิ้ว ไม้ตะกร้า หรือลูก ไม้ให้เขาอยู่บริเวนกลาง โรงเรือนหรือใกล้ตาเราที่สุดซึ่งจะเป็น พื้นที่ที่ค่อนข้างมีความชื้น สูงสุด ในโรงเรือน และถูกเอาใจใส่ดีที่สุด ส่วนที่สองให้กันไว้อีก 20% เพื่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กล้วยไม้ ส่วนที่สามให้พื้นที่มากสุดคือ 60% จะเป็นพื้นที่สำหรับเลี้ยงไม้พล(ไม้พลย่อมาจากไม้พลทหาร) เป็นไม้ที่เราเลี้ยงเพื่อทำปริมาณและทำการตลาด ี่ต้องใช้พื้นที่มากสุดเพราะสวนเราจะอยู่ได้หรือ ไม่ได้ก็ที่กล้วยไม ้ชุดนี้เป็นหลัก


ต้องบอกศัพท์ช่างกันก่อน
    - ท่อ GSP ย่อมาจาก Galvanized Steel Pipe ก็คือท่อน้ำประ ปาสมัยก่อนที่มีสีเงินๆ ปกติจะมีความหนาด้วยกัน 3 ขนาด น้ำเงิน หนาสุด เหลืองหนาปานกลาง ส่วนสีแดงหรือเขียวจะบางเวลาเลือก ใช้แขวนกล้วยไม้ ควรใช้คาดสีเหลืองแต่หาก เป็นคานด้านบนควรเลือกสีน้ำเงินจะแข็งแรงปลอดภัยดีที่สุด    
- เส้นผ่า ศก.ของท่อหรือเหล็กทั้งหลาย ขนาด 1 นิ้ว แบ่งได้เป็น 8 หุน  ดังนั้น ท่อขนาด นิ้วก็คือท่อ 4 หุน
    - ตีนช้าง คือส่วนของเสาที่มีลักษณะแผ่ออกเพื่อให้เกิดความมั่น คงเวลาวางเสา
    - ซาแลน คือ ตาข่ายพลาสติกพรางแสง มีขนาดมาตรฐานที่ใช้ ประจำคือม้วนหนึ่ง หน้ากว้าง 2.0 เมตร ยาว 100.0 เมตรต่อม้วน  ที่ใช้กันควรจะเลือกที่ 60-70%
    - การถอดแบบ คือการถอดปริมาณวัสดุที่ใช้งาน
    - เหล็กเส้น เป็นเหล็กที่ขึ้นรูปเป็นเส้น มีความยืดหยุ่นตัวพอสมควร สามารถดัดงอได้ ปกติจะใช้ผูกยึดเป็นแกนกลางของงาน คสล. หรือคอนกรีตเสริมเหล็กต่างๆ  เส้นหนึ่งหากจำไม่ผิดยาวประมาณ 10 เมตร ที่เราจะนำมาใช้ที่นี่ขนาด 3 หุน หรือ 3/8 นิ้ว

ทางแนวทิศตะวันออกตะวันตกใช้แป๊ปใหญ่กว่าสาเหตุก็เพราะเราจะใช้รับน้ำหนักของคานเสริมด้านล่างซึ่งจะเป็นตัว รับน้ำหนักกระเช้าหรือกระถาง กล้วยไม้ทั้งยึดให้หัวเสาต่างๆกลายเป็นเสมือนขาโต๊ะรับแรงดึงซึ่งกัน และกันทำ ให้เสาต่างๆ ตั้งตรงได้โดยไม่เอียงสรุปจาก ภาพเราจะวาง แป๊ปปะปา GSP ขนาด 4 หุน ที่ใช้แขวนกล้วยไม้

สำหรับเสาปูน จะเลือกใช้ขนาด 4 x 4 นิ้ว ยาว 3.5 เมตร ดูภาพเสาที่ ฝังลงไปใน
ดิน 0.5 เมตร ก้นหลุมจะเทด้วยคอนกรีตผสมสาเหตุที่ไม่เทกลบตีนช้าง แต่เทแผ่เรียบๆ ไว้หากในอนาคตเราต้องการย้ายโรงเรือนก็ย้ายได้สะ ดวกขึ้นแต่ถ้าคิด ว่าที่นี้คือที่ถาวรใน การสร้างโรงเรือนกล้วยไม้ก็ควรเทกลบตีนช้างไปเลยก็จะแข็งแรงยิ่งขึ้น

เมื่อฝังเสาเสร็จก็จะเป็นแบบนี้

มาดูรายละเอียดที่หัวเสากัน จากภาพวาดจะเห็นว่ามีการวางท่อแป๊ป 1-1/2 นิ้ววางบนหัวเสาเลยและขีดสองขีดที่โผล่จากหัวเสาก็คือเหล็กโผล่ที่บอกว่า เราควร สั่งร้านวัสดุก่อสร้างว่าอยาก ได้เสาหล่อแบบนี้ความจริงมักจะมีปัญหาอีกข้อที่มักจะเจอเสมอ คือเสาหน้าสี่ที่เราจะใช้นี้มักจะมี ขนาดความยาวสูงสุดส่วนใหญ่อยู่ที่ 3.0
เมตรและมักจะมี ีลักษณะที่หัวเป็นบ่าสำหรับ ไว้ยึดคานเหล็กพร้อมจะเจาะรูมาไว้ให้เราพร้อมดังนั้นหาก ไม่ได้เสาลักษณะนี้ จะเปลี่ยนเป็นหน้าห้านิ้ว (5 x 5นิ้ว) ก็ได้แต่ต้นทุนก็จะเพิ่มตามไปด้วย เจ้าเหล็กที่โผล่มาสองขีดนั้นความจริงโผล่ทั้งหมดสี่ขีด เพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามท่อ อีกสองขีดสำคัญก็คือเราจะทำการเชื่อมเจ้าเหล็กที่โผล่ให้ยึดติดกับตัวแป๊ปนิ้วครึ่ง จากนั้นเราจึงจะวางท่อแป๊ป 1 นิ้ว ข้างบนแล้วเชื่อมทั้งหมดติดกัน เท่านี้เราก็จะได้ลักษณะโรงเรือนที่มีเสาเหมือนขาโต๊ะแล้ว

พอทำเสร็จก็จะมีลักษณะการต่อที่หัวเสาเป็นดังนี้

หลังจากได้โรงเรือนเป็นเสมือนโต๊ะๆ หนึ่งที่มีเสาเป็นขาโต๊ะ เราก็มาถึงขั้นตอนสำคัญนั่นก็คือการวางคานย่อยเพื่อรับท่อแป๊ปที่ใช้แขวน กล้วยไม้ คานย่อยของเราจะใช้ท่อแป๊ปขนาด 3/4 นิ้ว หรือขนาด 6 หุนส่วนท่อแป๊ปที่เราใช้แขวนกล้วยไม้เราก็ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ 1/2 นิ้ว หรือ 4 หุน การวางระดับแขวนกล้วยไม้บางครั้งเราก็ควรจะตอบตัวเองให้ ได้ก่อน ว่าเรากำลังจะเลี้ยงกล้วยไม้หากเลี้ยงแคทลียาก็แขวนที่ระดับ 2.00-2.20 เมตร จากพื้นดิน ส่วนถ้าเลี้ยงแวนด้าหรือแอสโค เอาสูงขึ้น มาอีกหน่อยเป็น 2.10-2.30 เมตร ก็น่าจะพอดี

มาถึงอีกจุดหนึ่งที่ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ในโรงเรือนโดยเฉพาะเป็นจุดแรกสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงกล้วยไม้ของเรา จริงๆนั่นก ็คือโต๊ะเลี้ยงไม้นิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตแผ่นตะแกรงพลาสติกสำหรับเลี้ยงไม้นิ้วออกมา จาก โรงงานฉีด พลาสติกมากมาย ราคาก็ไม่แพงด้วย ราคาขายปลีกก็ตั้งแต่ 25-40 บาท ต่อแผ่น ขึ้นอยู่กับความหนา และพื้นที่จำหน่ายด้วยขนาดแผ่นตะแกรงก็มักจะมีขนาด ใกล้เคียงกัน ก็มีขนาด 36 x 64 เซนติเมตร มีช่องทั้งหมด 112 ช่อง การวางแผ่นตะแกรง ส่วนใหญ่ก็จะวางให้ด้านกว้างหันชนกัน ดังนั้นจึงเป็นเสมือนหน้ากว้าง ของโต๊ะไม้นิ้ว ประมาณ 120-130 เซนติเมตร เป็นระยะที่กำลังดีสามารถเอื้อมมือไปดูแลไม้นิ้วที่อยู่ บริเวณกลางโต๊ะได้ แล้วขาโต๊ะจะใช้อะไรทำดี งานนี้มีหลายรูปแบบ ที่เห็นมากๆ ปัจจุบันนี้ก็ใช้ท่อนคอนกรีตขนาด 2 x 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1.00-1.20 เมตร ท่อนหนึ่ง ราคา 12-18 บาท หาซื้อได้คงเฉพาะแถบร้านวัสดุก่อสร้างแถวนครปฐมหรือ ราชบุรี นำสองต้นฝังส่วนหนึ่งลงดินหรือเทคอนกรีตยึดขาไว้เลยก็ได้  เหลือระยะสูงจากพื้นดิน ขึ้นมา 75-85 เซนติเมตร นำอีกท่อนมาผูกดังในภาพ เท่านี้ก็ได้ขาโต๊ะแล้ว จากนั้นก็นำ ท่อแป๊ป 4 หุนมาวางเรียง 4 เส้น ยึดกับท่อนคอนกรีตด้วยลวดขาว จากนั้นก็วางตะแกรง พลาสติกเลี้ยงไม้นิ้วลงไปก็เสร็จเรียบร้อย

โต๊ะไม้นิ้วที่สร้างขึ้น ไม่เฉพาะวางไม้นิ้ว จะเอาตะแกรงออกขึงซาแลนให้ตึง แล้วใช้
ปลูกแอสโคแซนด้า หรือแวนด้าออกขวดใหม่ๆ แบบดำนาก็ได้ หรือจะนำไป ใช้วางพวกตะกร้าหรือตะแกรงผึ่งไม้ออกขวดก็ได้เช่นกัน

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยู่จังหวัดไกลๆ หาท่อนคอนกรีตขนาดที่บอกไม่ได้จะใช้ไม้ท่อน
หน้าสอง ขนาด 2 x 2 นิ้ว แทนท่อนคอนกรีตก็ได้ แต่อาจต้องทำการปรับเปลี่ยน
หากไม้เริ่มผุหรือเริ่มแตกบวม ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 3-5 ปี


โรงเรือนขนาดเล็ก

1. ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร ช่วงห่างเสา 3 เมตร สูงจากพื้นถึงซาแลน 3.5 เมตร
2. แบ่งได้เป็นห้องโรงเรือนอนุบาล ขนาด 3X6 เมตร ด้านบนมุงสังกะสีใส เพื่อป้องกันน้ำฝนมาทำให้
ต้นกล้วยไม้เน่า และให้แสงรอดผ่านได้ จากภาพอยู่ด้านซ้ายมือของท่านครับ
3. เหลือเป็นที่แขวนกระเช้า ขนาด 6X6 เมตร ช่วงห่างของราวแขวน 25 เซนติเมตร ถ้าต้องการประหยัดเงินแนะนำให้ใช้เหล็กดำ มาทาสีกันสนิม

รวมแบบโรงเรือนกล้วยไม้ขนาดย่อม

แปลนด้านหน้าโรงเรือน ด้านซ้ายเป็นโรงเรือนอนุบาล มีโต๊ะปักซาแลนสูงจากพื้นประมาณ 85 เซนติเมตร

จากด้านบนของโรงเรือน

มองจากหลังคาโรงเรือน

ใต้พื้นโรงเรือนปูด้วยทรายหยาบเพื่อช่วยรักษาความชื้นให้
กล้วยไม้ในโรงเรือน

รายการวัสดุคร่าวๆที่ใช้ บวกเพิ่มค่าปั๊มน้ำ 3000 บาท ค่า ซาแลนซื้อยกม้วน จะถูกกว่า ราคาม้วนละพันว่าบาท  แต่วัสดุบางอย่างสามารถดัดแปลงให้ถูกกว่านี้ได้


ขอบคุณสำหรับข้อมูล จาก www.OrchidSiam.com

Free Web Hosting