ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์ การปลูกกล้วยไม้ โดย สุภาพ  
 
คุณค่าของกล้วยไม้

     กล้วยไม้ไทยสกุลต่าง ๆ มีคุณค่าหลายประการด้วยกัน ดังนี้

1. คุณค่าด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี คนไทยมักนิยมใช้กล้วยไม้ในการประดับประดาที่พักอาศัย วัดวาอาราม  โดยผูกมัดต้นที่มีดอกไว้ ตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน ปะรำ  หรือเพิงพัก  รวมทั้งประดับประดา ตามต้นไม้ใหญ่บริเวณที่พัก   เช่น กล้วยไม้สกุลช้าง  และ สกุลกุหลาบ  ซึ่งเสน่ห์ของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ อยู่ตรงที่ออกดอกเป็นพวง ห้อยระย้า และบางชนิดยัง มีกลิ่นหอมอีกด้วยลักษณะช่อดอกเป็นพวงนั้นมอง ดูคล้ายกับพวงมาลัยดอกไม้สด ต่างกันตรง ที่พวงมาลัย  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  แต่ช่อดอกกล้วยไม้้เป็น การสร้างสรรค์ ของธรรมชาติ  ด้วยความสวยงาม อันโดดเด่นจึงมี ผู้นำดอกกล้วยไม้สกุลกุหลาบไป ผสมพันธุ์   และเพาะเลี้ยง รวมทั้งตั้งชื่อ  เพื่อเป็น ที่ระลึก ถึงผู้ที่ตนรัก  หรือเคารพนับถือ เป็นพิเศษ เช่น กุหลาบผุสดี กุหลาบจำปาทอง เป็นต้น

2. คุณค่าต้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ กล้วยไม้มี แหล่งกำเนิดในป่า ต้นไม้ใหญ่ใน ป่าเป็น
ที่เกาะอาศัยของ กล้วยไม้นานาพันธุ์ ถ้ามองเข้าไปในป่าจะพบว่ามีกล้วยไม้มากมายหลายชนิด ทั้งมีดอก
ขนาดเล็ก ดอกขนาดใหญ่ สวยมาก สวยน้อย มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหอม ตัวอย่างเช่นกล้วยไม้สกุลกุหลาบ จะมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้พบเห็นเป็นพิเศษด้วยขนาดค่อนข้างใหญ่ ออกดอกเป็นช่อห้อยระย้าอยู่ตามกิ่งตาม คบไม้ เหมือนประติมากรบรรจงแต่งไว้ นอกจากนี้ อีกหลายชนิดยังมีกลิ่นหอม

3. คุณค่าด้านการพัฒนาตนเองและสังคม การสร้างความนิยมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลต่าง ๆ เช่น สกุลช้าง กุหลาบ สิงห์โตกลอกตา และเข็ม ฯลฯ ให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทย จะนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ตลอดจนการผสมพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ทำให้มีความสวยสดงดงามมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ผู้ผสมพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้าง คือ ช้างแดง ได้เป็นผลสำเร็จ สร้างชื่อเสียง เกียรติคุณให้แก่ประเทศไทยสู่วงการกล้วยไม้ทั่วโลกเป็นอย่างมาก

4. คุณค่าด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
        1) ความนิยม ความนิยมปลูกกล้วยไม้สกุลกุหลาบยังมีน้อยสาเหตุน่าจะมาจากเป็นกล้วยไม้ที่ม ีช่อดอกห้อย ดอกจะสวยเมื่อติดอยู่กับต้นการตัดดอกไม่น่าจะเหมาะสม หากส่งเสริมโดยมุ่งในด้าน เป็นไม้ดอกติดต้นมากกว่า ตัดดอกน่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับกล้วยไม้สกุลช้างนั้นเนื่อง จากลักษณะดอกจะเป็นช่อ มีดอกขนาด เล็กจำนวนมาก การใช้ประโยชน์จากดอกยังมีน้อยยกเว้น นำไปถวายเป็นพุทธบูชา หรือทำเป็นกระเช้ามอบเป็นที่ระลึก หรือใช้ประดับในงานมงคลต่าง ๆ      
       2) โอกาสในการซื้อขายผลผลิต กล้วยไม้แต่ละสกุลมีโอกาสในการซื้อขายผลผลิตแตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
          (1) กล้วยไม้สกุลกุหลาบ เหมาะกับการตกแต่งภายใน ภายนอกอาคาร และบริเวณโดยรอบ
          (2) กล้วยไม้สกุลช้าง จะมีโอกาสในการซื้อขายผลผลิตในตลาดในประเทศมาก
          (3) กล้วยไม้สกุลเข็ม หากส่งเสริมให้ใช้ในโอกาสต่าง ๆ มากขึ้นจะมีโอกาสในการซื้อขาย
ผลผลิต ในประเทศมากขึ้น มีดอกสวยงาม สีสันแปลก ๆ เลี้ยงง่าย ออกดอกไม่เลือกฤดูกาล
     3) ช่องทางการจำหน่ายผลผลิต ในด้านต้นทุนและรายได้นั้น ยังกำหนดไม่ได้เนื่องจากไม่มี การบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และยังไม่ อยู่ใน ความนิยมของตลาดเท่าใดนัก แต่ถ้ามีการ แนะนำส่งเสริม ให้ใช้ดอกหรือ ต้นที่มีดอกมากขึ้นราคาก็จะสูง รายได้ก็จะดี เมื่อรายได้ดีก็จะมีผู้หันมาเพาะเลี้ยง กันมากขึ้น ราคาก็จะถูกลง นั่นคือการแข่งขันในเชิงธุรกิจการค้า คือขณะที่ราคาถูกเพราะการแข่งขันสูง ผู้ที่จะยึดอาชีพนี้อยู่ได้ ก็คือผู้ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ซึ่งคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนี้ก็จะต้องเป็นผู้มีใจรักเป็น ทุนเดิมอยู่แล้วประกอบกับต้องเป็นคนช่างสังเกต ประณีต ถ้าเป็นคนทำอะไร ลวก ๆหยาบ ๆ แล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก
     4) ข้อปฏิบัติในการจำหน่าย อาจจำหน่ายต้นกล้วยไม้  ที่อยู่ในขวดใน กรณีที่เราสามารถผสมพันธุ์ลูก ผสม ได้หรือแม้แต่ผลิตพันธุ์แท้ก็น่าจะจำหน่ายได้เช่นกัน และถ้าเรามีต้นที่มีคุณลักษณะดีเด่นเป็นพิเศษ อาจนำไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่กล้วยไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อราคาจะแพง เพราะต้นทุนใน การผลิตจะสูง กว่าการเพาะเมล็ดนอกจากจำหน่ายกล้วยไม้ในขวดแล้ว อาจจำหน่ายลูกกล้วยไม้ในกระถางหมู่ หรือในกระถางนิ้ว เลยไปถึงกล้วยไม้รุ่นที่จวนออกดอกหรือเริ่มแทงช่อดอกช่อแรกได้

Free Web Hosting