โรคราดำ
เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้นและดอกเพียง
แต่มัน
ไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Meliola sp
อาการของโรค: บริเวณใบและลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำๆ ของใยและสเปอร์ของเชื้อรามองดูคล้าย
ผงเขม่า
ทำให้กล้วยไม้สกปรก
การแพร่ระบาด: เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้มโดยสเปอร์ปลิวมากับลมหรือติดมากับแมลงแล้ว
ยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่นๆได
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป็นโรค: เชื้อรานี้มักขึ้นตาม
หยดน้ำหวาน หรือมูลที่เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา และมักพบในบริเวณใกล้หรือใต้ต้นไม้ใหญ่
การป้องกัน:
- แยกหรือทำลายต้นที่เป้นโรค
- ใช้ยาฆ่าแมง ฉีดป้องกัน เช่น คาร์บาริล
- ใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น เบนโนมิล หรือ แมนโคเซบร่วมด้วยสารฟอสเฟต อัตรา 30-40 กรัม/ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบโรค7-10 วัน
โรคเน่า
|
เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาและนอปซิส เป็นต้น ลักษณะอาการ เริ่มแรกเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาลและอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำบนใบจะมีขอบสีเหลืองเห็นชัดเจน ภายใน 2 - 3 วัน เนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห้นร่างแหของเส้นใบถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้ การแพร่ระบาดโรคจะเเพร่ระบาดรุนแรงรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่นช่วงอากาศ
อบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก
การป้องกัน
- เผาทำลายต้นเป็นโรค
- ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะอาการเน่าจะหยุด
ชะงักไม่ลุกลาม
ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ
-ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลาเมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่ายการให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วนเร่งการเจริญเติบโต รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำใหต้นอวบ เหมาะแก่การเกิดโรค
-การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้สารปฏิชีวะนะ เช่น แอกกริมัยซิน ไฟโตมัยซิน แอกกริสสเตรป อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่สารประเภทนี้มีข้อจำกัด ควรพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่ง
อาจทำให้สารเสื่อม
ฤทธิ์และไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด
หลักสำคัญในการป้องกันโรคโดยทั่วไป
1. บำรุงกล้วยไม้ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
2. การให้น้ำคำนึงถึงเวลาและอัตราที่เหมาะสม
3. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการตัด
4. พักและแยกกล้วยไม้ที่นำเข้ามาใหม่
5. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันและหลังการใช้ทุกครั้ง
6. อย่านำกล้วยไม้ที่เป็นโรคไปแพร่เชื้อ
7. ศึกษาที่มาของโรค
8. ศึกษานิสัยกล้วยไม้ที่ปลูก
9. แยกกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกรักษา
10. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด
เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี
|
เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวของตัวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น ตัวเมียจะวางไข่ในเนื้อเยื่อ
ของกลีบดอก ระยะไข่ 2 - 6 วัน ไข่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อฟักเป็นตัวจะมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน
และน้ำตาลเข้ม เป็นแมลงจำพวกปากดูดเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มีปีกบินได้พวกนี้ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามโคนกลีบดอก
หรือ ตามรอย ซ้อนกัน ระหว่าง กลีบ และปากของ กล้วยไม้ลักษณะการทำลายกล้วยไม้ ของเพลี้ยไฟ คือ การดูดน้ำเลี้ยงจาก
ดอกทำให้เกิดเป็นรอยขาวๆ คดเคี้ยวไปมา จะทำลายริมดอกไปก่อนเมื่อจากอาการที่ดอกตูมมีสีน้ำตาลและแห้งคา
ก้านช่อดอกชะงักการเจริญเติบโตถ้าเป็นดอกบาน จะปรากฏรอยสีซีดขาวที่ปากกระเป๋าและตำแหน่งที่กลีบดอก
ช้อนกัน
ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล เรียกกันว่าดอกไหม้ เมื่อแก่อุ้งปากของดอกกล้วยไม้ออกจะเห็นตัวอ่อนหรือตัวแก
่ของเพลี้ยไฟแอบซ่อนอยู่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงของกล้วยไม้ ใช้เวลาเพียง 1-2 วัน ในการทำลายช่อดอก เพลี้ยไฟ
จะระบาดในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง คือ ในฤดูร้อนนั่นเอง ส่วนฤดูฝนการระบาดจะลดลง
การป้องกันกำจัด
การทำได้โดยการทำความสะอาดภายในและบริเวณรอบๆเรือนกล้วยไม้อยู่เสมอเพื่อมิให้เป็นที่หลบซ่อนของ
เพลี้ยไฟ
และพ่นยาโมโนโครโตฟอส ในอัตราตัวยา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นแม้กระทั่งตามซอกใบ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
เพลี้ยหอย
|
เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด กล้วยไม้ที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง ไม่ค่อยได้รับการฉีดพ่นยา ขาดการเอาใจใส่ดูแล มักจะถูกทำลายด้วยเพลี้ยหอยเพลี้ยเกล็ดลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบ ลำต้นและราก จะสังเกตเห็นว่าบริเวณที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยง จะมีสีเหลืองเป็นจุดนูนเล็กๆ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต พอนานๆ ก็แห้งเหี่ยวตายได้
การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาดูดซึม เช่น อโซดริน ไวย์ เดทแอล เป็นต้น
|